ศิวา-ราตรี * พนมเทียน






ศิวา-ราตรี ศิวา-ราตรีเป็นนวนิยายที่มีละเมียดละไมทางภาษาระดับยอดเยี่ยม

การ บรรยายฉากสงครามระหว่างเมืองต่างๆ ละเอียดจนเห็นภาพชัดเจนแทบจะรับรู้ถึงกลิ่นดิน กลิ่นเลือดเลยทีเดียว ตัวละครทุกตัวล้วนดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายสูงสุดของตนเอง อ่านไป ๆ จนจบได้ข้อคิดกับชีวิตประจำวันมากมายแทบทุกบรรทัด ...

ตัวละครเอก ที่เป็นตัวเดินเรื่องมีหลายตัว อย่างเช่น สามหน่อมิลักขะ คือ เจ้าชายทุษยันต์ เวชยันต์ และทัสสยุ หรือเจ้าหญิงยามาระตี พระเจ้าพิษณุมหาราช โรหิตา ดุสิดา เจ้าชายสุเรนทรา สินธุ นกุลา กุเวร สุโณ และอื่นๆ อีกมากมาย ... แล้วทุกตัวละครก็เกี่ยวพันกันเพื่อแย่งชิงความเป็นชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นมิลักขะหรืออารยัน ...

ตอนจบทุกอย่างคลี่คลายไปด้วยความ สุขคละความเศร้า ... สรุปได้ว่าสงครามไม่มีอะไรดีเลย มีแต่ความสูญเสียเท่านั้น (ฮือๆๆ รู้สึกสงสารทุษยันต์กับมาณวิกาเทวี มากๆ)

วันนี้ เลยมาชวนเพื่อนหนอนที่เบื่อนวนิยายหวาน ๆ เบา ๆ ลองหางานเขียนระดับครูเรื่อง ศิวา – ราตรี มาอ่านดูกันนะครับ ผมรับรองว่าเพื่อนๆ จะวางไม่ลงแน่นอน ขอบอกสนุกมากจริง ๆ
ประพันธ์กรชั้นครู “พนมเทียน” ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า สุดยอดนิยายการผจญภัยในป่าดงดิบ “เพชรพระอุมา” นั้น เปรียบเสมือนตัวของ “พนมเทียน” เอง เป็นเสมือนทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของเขาที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์กว่าครึ่ง หนึ่งของชีวิต แต่หากจะถามต่อไปว่า “พนมเทียน” รักและภูมิใจนิยายเรื่องใดมากที่สุดในชีวิตการเขียนหนังสือที่ผ่านมา คำตอบที่ได้รับกลับเป็น “ศิวาราตรี” แล้วยอดนักประพันธ์ก็ให้คำอรรถาธิบายต่อไปว่า การเขียน “ศิวาราตรี” นั้น เขาได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้ร่ำเรียนมาด้านภาษาศาสตร์ และโบราณคดี บรรจุความไพเราะแห่งถ้อยคำ ผนวกกับความรู้ทางประวัติศาสตร์แห่งดินแดนชมพูทวีปลงไปในจินตนิยายเรื่องนี้ อย่างเต็มที่ ยิ่งกว่าเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น และความจริงก็เป็นดังนั้น “พนมเทียน” ใช้ความงดงามแห่งภาษาศาสตร์เขียน “ศิวาราตรี” ขึ้นมา แทบจะเรียกได้ว่า ทุกวรรค ทุกตอน แม้แต่การเอ่ยนามของนางเอกในเรื่อง “พนมเทียน” เขียนไว้ว่า “เจ้าหญิงยามาระตี เทวีขวัญฟ้า นายิกาแห่งดาราพราย”

.... ผู้อ่านจะมีความรู้สึกคล้อยตามทันทีว่าองค์หญิงยามาระตีนั้นทรงความงดงามสัก ปานใด นี่คือความสามารถในเชิงภาษาของ “พนมเทียน” ที่บรรจุไว้ในจินตนิยายเรื่องยิ่งใหญ่นี้ นอกจากความงดงามดังกล่าวแล้ว เค้าโครงเรื่อง “ศิวาราตรี” ยังเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ประทับใจไม่รู้เลือน ไม่ว่าจะเป็นฉากรบที่ยิ่งใหญ่เหนือท้องทุ่งเชิงผาสิงห์คำรน ความผูกพันที่แนบแน่นแห่งสามหน่อมิลักขะ คือ ทุษยันต์ เวชยันต์ และ ทัสสยุ สามฝาแฝดที่มีชะตาชีวิตซึ่งแตกต่างกันมาก....

คนโตคือ “ทุษยันต์” ถูกอารยันอันเป็นชนชาติศัตรูนำไปชุบเลี้ยงไว้และต้องมาห้ำหั่นโรมรันกับ “เวชยันต์” น้องชายคนกลางผู้เป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชของมิลักขะ และ “ทัสสยุ” น้องชายคนเล็ก ผู้พยายามทุกวิถีทางที่จะประสานสัมพันธ์ของพี่ชายทั้งสองเข้าด้วยกันให้จง ได้ ...

ความเสียสละอันยิ่งใหญ่ในรูปแบบที่ต่างกัน ได้ปรากฏชัดในเรื่องนี้อยู่หลายครั้งหลายหน ไม่ว่าจะเป็นการเสียสละชีพเพื่อกู้ชาติของเหล่ามิลักขะ การเสียสละของ “ทุษยันต์” ที่มีให้แก่น้องชายและเชื้อชาติ การเสียสละของ “โรหิตา” หญิงผู้อาภัพเพื่อชัยชำนะแห่งองค์พิษณุมหาราช จอมกษัตริย์แห่งอารยันและการเสียสละอันยิ่งใหญ่ของผู้เป็นบิดา ที่จำต้องประหารลูกสุดที่รัก ...
้วยน้ำมือตนเอง นี่คือ ความยิ่งใหญ่อลังการแห่ง “ศิวาราตรี” จินตนิยายที่สมบูรณ์แบบที่สุดในชีวิตการเขียนของ “พนมเทียน” ผู้ได้รับการยกย่อง ประกาศเกียรติคุณให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” สาขาวรรณศิลป์ ปีพ.ศ.2540 จินตนิยายที่ผู้เขียนถึงกับลั่นวาจาออกไปว่า จะไม่เขียนเรื่องทำนองนี้อีกต่อไป เพราะทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกบรรจุไว้ใน “ศิวาราตรี” จนไม่สามารถที่จะเขียนเรื่องทำนองเดียวกันนี้ออกมาได้งดงาม ยิ่งใหญ่เท่ากับเรื่องนี้อีกแล้ว นอกจากที่กล่าวถึงมาแล้ว “ศิวาราตรี” ยังเปี่ยมด้วยฉากรักที่ประทับใจ ฉากความทารุณโหดร้ายที่ผู้ชนะกระทำเอากับผู้อยู่ใต้เบื้องบาทแห่งตน จนเป็นชนวนเหตุแห่งสงครามเลือดนองแผ่นดิน “พนมเทียน” เคยเขียนเรื่องแนวจินตนิยายที่มีเค้าโครงเรื่องผูกพันกับดินแดนภารตะมาก่อน หน้า “ศิวาราตรี” สองเรื่องด้วยกัน คือ “จุฬาตรีคูณ” และ “ปฐพีเพลิง” แต่หากจะรวมความยิ่งใหญ่ งดงาม และประทับใจของจินตนิยายสองเรื่องนี้เข้าด้วยกัน ก็คงไม่อาจทัดเทียมได้กับ “ศิวาราตรี” เพียงเรื่องเดียว สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม รู้สึกเป็นเกียรติ และภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสจัดพิมพ์จินตนิยายเรื่องยิ่งใหญ่นี้ขึ้น มาอีกครั้ง เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีโอกาสสัมผัสกับความประทับใจอย่างยากจะรู้เลือนของ “ศิวาราตรี” อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด โดยในการจัดพิมพ์ในคร้งนี้ ต้นฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ.2545 นั้น ได้รับการสอบทานและตรวจพิสูจน์ความถูกต้อง จากทั้ง พนมเทียน และการทำงานของสำนักพิมพ์อย่างละเอียด รอบคอบชัดเจน สำหรับภาพประกอบปกครั้งนี้สำนักพิมพ์ได้รับเกียรติจากคุณปราโมชย์ ณ ระนอง รังสรรค์จินตนาการเพื่อความสมบูรณ์ยิ่งแห่งศิวาราตรี มาเถิด ภราดา…บัดนี้ ถึงเวลาแล้วที่จะเปิดพลิกไปพบกับจินตนิยายจกาปลายปากกาที่แหลมคมเพริศแพร้ว ของนักเขียนนามอุโฆษ “พนมเทียน” ผู้ซึ่งบรรจงสร้างสรรค์จินตนิยายเรื่องนี้ไว้อย่างชนิดฝากฝีมือให้ลือลั่นใน ปฐพี มาเถิด ภราดา…บัดนี้ เรื่องราวแห่งความสนุกสนานประทับใจและงดงามด้วยศิลปะแห่งภาษาศาสตร์ของ “ศิวาราตรี” ได้รอคอยการพิสูจน์จากท่านอยู่ในมือแล้ว ตามเรามาเถิด…ไปสู่ดินแดนรูปดอกบัวแห่งชมพูทวีปในยุคก่อนพุทธกาลโน้น แลดื่มด่ำอรรถรสอันแสนประทับใจแห่ง “ศิวาราตรี” ณ บัดนี้… ต่อครับ ...


พิธีศิวาราตรี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเล่าถึงรายละเอียดของพิธีศิวาราตรี ที่เมืองพารณสี ซึ่งพระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ดังจะขออัญเชิญมาต่อไปนี้.........

"พิธีศิวาราตรี นี้เป็นพิธีลอยบาปของพราหมณ์คล้าย ๆมหาปวาณาจึงโปรดให้ทำตามธรรญเนียมเดิม พิธีนี้ทำในวันเดือนสามขึ้น 15ค่ำ คือเวลาค่ำพระมหาราชครูทำพิธี เริ่มแต่กระสูทธิ์อัตมสูทธิ์ตามแบบเหมือนพิธีทั้งปวงแล้วเอาเสาปักสี่เสา เชือกผูกคอหม้อโยงเสาทั้งสี่ ภายใต้หม้อตั้งพระศิวลึงค์ เจาะหม้อให้น้ำหยดลงมาได้ทีละน้อยเอาขลังสอดไว้ในช่องหม้อที่เจาะนั้นเฉพาะ ตรงพระศิวะลึงค์ให้น้ำหยดลงถูกพระศิวลึงค์ทีละน้อย แล้วไหลลงมาตามรางซึ่งรองรับพระศิวลึงค์ซึ่งพระพราหมณ์ในประเทศอินเดียซึ่ง ข้าพเจ้าเคยไปเห็นเรียกว่าโยนีแล้วมีหม้อรองที่ปากรางนั้นเติมน้ำและเปลี่ยน หม้อไปจนตลอดรุ่ง เวลาใกล้รุ่งทำพิธีหุงข้าวหม้อหนึ่งในเทวสถาน เจือน้ำผึ้ง น้ำตาล นม เนยและเครื่องเทศต่างๆสุกแล้วแจกกันกินคนละเล็กคนละน้อยทุกคนทั่วกัน พอได้อรุณก็พากันลงอาบน้ำในคลอง สระผมด้วยน้ำที่สรงพระศิวลึงค์ ผมที่ร่วงในเวลาสระน้ำเก็บลอยไปตามน้ำ แต่การพิธีนี้ไม่มีของหลวงพระราชทาน เป็นของพราหมณ์ทำเองเมื่อพิเคราะห์ดูการที่ทำนี้เห็นว่าจะเป็นการย่อมาเสีย แต่เดิมแล้ว ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จอมนาง * แก้วเก้า

กุหลาบแสนสวย * ก.ศยามานนท์